มือจับประตูมีกี่แบบ แต่ละแบบมีความสำคัญอย่างไรในการใช้งาน

สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน มือจับประตูถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับตัวบ้างที่ทุก ๆ บ้านจำเป็นต้องมี โดยหน้าที่หลัก ๆ คือ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเปิดปิดประตูได้อย่างง่ายดาย สะดวก และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน แล้วนอกจากในแง่ของการใช้สอยแล้วยังสามารถใช้ในการตกแต่งหรือแสดงออกความเป็นตัวตนของเจ้าของบ้านได้อีกด้วยค่ะ 

โดยทั่วไปแล้วมือจับประตูจะมีความหลากหลายค่อนข้างมากขึ้นอยู่กับรูปแบบการออกแบบ หรือวัสดุในการผลิต ในวันนี้ทางเราได้รวบรวม 8 วัสดุสำหรับผลิตมือจับประตูมาฝากทุกท่าน แต่ละแบบมีความสำคัญในการใช้งานอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไรในการใช้งานระยะยาว ข้อมูลตรงนี้สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจในการเลือกของตกแต่งบ้านได้เลยนะคะ

  1. ทองเหลือง

เมื่อพูดถึงประตูบ้าน ทองเหลืองถือเป็นหนึ่งในวัสดุยอดนิยมที่นำมาใช้ทำมือจับ โดยจะนำทองเหลืองมาแปรรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามที่ผู้ออกแบบต้องการ จากนั้นนำไปชุบทองคำหรือชุบโครเมี่ยมเพื่อให้เกิดความเงาดูสวยงาม จากนั้นก็เคลือบแลคเกอร์อีก 1 ชั้นเพื่อป้องกันการกัดกร่อน มือจับแบบนี้จะคงทนแข็งแรงและมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวนานมาก สามารถพบเห็นได้ทั่วไปและมีราคาไม่สูงมาก

  1. ไม้และเหล็ก

ไม้และเหล็กถือเป็นอีกหนึ่งวัสดุยอดนิยมที่นิยมนำมาใช้ ข้อดีคือสามารถดีไซน์ออกมาได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการ ทำให้ใช้ร่วมกับประตูได้หลากหลายดีไซน์ ที่สำคัญคือสามารถหาได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป

  1. แตนเลส

อีก 1 วัสดุที่มีความคงทนแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อน และมีอายุการใช้งานที่สูง จึงได้รับความนิยมมาใช้ทำเป็นมือจับ และด้วยคุณสมบัติสำคัญที่เป็นความคงทนแข็งแรงนี่เองทำให้ได้รับความนิยมในการทำมือจับประตูสำหรับอาคารสำนักงาน หรือห้างสรรพสินค้า หากใครต้องการใช้กับประตูบ้านของตัวเองควรเลือกติดในที่ที่มีการสึกหรอได้ง่าย

  1. พลาสติก

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเห็นรูปเด็กที่เป็นพลาสติกกันมาแล้วใช่ไหมคะ โดยมือจับแบบนี้จะเป็นมือจับสำเร็จรูป มีความทนทานในระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนักเนื่องจากอายุการใช้งานค่อนข้างต่ำ ไม่ค่อยสวยงาม แต่อย่างไรก็ดีนี่ก็ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่สามารถใช้ได้สำหรับท่านไหนที่ต้องการจำกัดงบประมาณ

  1. อลูมิเนียม

อีกหนึ่งวัสดุที่หาได้ง่าย มีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรงทนทาน ที่สำคัญคือทนต่อการกัดกร่อนและไม่เป็นสนิม ทำให้จุดเด่นของมือจับประตูแบบอลูมิเนียมคือการดูแลรักษาได้ง่าย อายุการใช้งานยืนยาว จึงกลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในขณะเดียวกันก็ราคาไม่สูงมาก

  1. แก้วหรืออะคริลิค

ทั้ง 2 ชนิดนี้จัดเป็นวัสดุที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมในช่วงก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากแก้วและอะคริลิคเป็นวัสดุที่ให้ความสวยงามกับประตูได้อย่างดี มีความเรียบหรู แต่ก็ดูดีและมีระดับ ทำให้ทุกวันนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่แพ้วัสดุอื่น ๆ นอกจากนี้ยังดูแลรักษาง่าย เพิ่มมิติให้กับประตูบ้านด้วยการสะท้อนแสงระยิบระยับ ส่วนมากนิยมนำมาใช้คู่กับประตูที่ทำจากวัสดุที่มีมูลค่าสูง หรือประตูที่ผ่านการออกแบบมาอย่างประณีตสวยงาม การใช้มือจับแบบแก้วหรืออะคริลิคเพิ่มความดูดีให้กับประตูบ้านขึ้นไปอีกค่ะ

  1. ไนลอน

เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและมีความเหนียวและมีความทนทานอย่างมาก มักใช้เป็นมือจับประตูสำเร็จรูปในรูปแบบต่าง ๆ ข้อดีคือสามารถหาได้ง่ายตามท้องตลาด เรียกใช้งานได้อย่างหลากหลาย แล้วราคาก็ไม่สูงจนเกินไป อายุการใช้งานจัดว่าอยู่ในระดับกลางเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด

  1. เครื่องลายพราง

วัสดุสุดท้ายคือเครื่องลายพราง จัดไปอีก 1 วัสดุที่มีราคาค่อนข้างสูงในขณะเดียวกันก็ให้ความสวยงามหรูหรา โดยเฉพาะมือจับที่ประกอบไปด้วยวัสดุทองเหลืองที่ผ่านการชุบทองหรือโครเมี่ยมที่เพิ่มความสวยงามขึ้นไปอีก โดยโทนสีที่มักนำมาใช้คือ โทนสีขาว สีครีม หรือสีดำเป็นต้น 

นอกจากการจำแนกจาก 8 วัสดุที่นำมาใช้ทำมือจับแล้ว เรายังสามารถจำแนกประเภทได้อีก 4 แบบนั่นคือ

มือจับประตูประเภทไม่มีตัวล็อค

มือจับประตูประเภทมีชุดกลอนหรือตะขอล็อคด้านหนึ่ง

มือจับประตูประเภทมีชุดก้านล็อคในตัว 

มือจับประตูประเภทระบบล็อคดิจิทัล

 

โดยทั้ง 4 แบบจะมีความแตกต่างกันเนื่องของ Design การออกแบบ แล้วความปลอดภัย นอกจากนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับรูปแบบของประตูบ้านว่าเหมาะกับรูปแบบมือจับแบบไหน สำหรับใครที่กำลังมองหามือจับแบบที่ชอบแล้วยังตัดสินใจไม่ได้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณนะคะ อย่างไรก็ดีหากต้องการข้อมูลหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องมือจับประตูประเภทต่าง ๆ สามารถติดต่อเราได้ที่เบอร์โทร 02-194-1075, 090-676-2118 หรือทางเว็บไซต์ https://www.woodoutlet.net/ ได้เลยค่ะ เรายินดีให้บริการให้คำปรึกษาด้วยประสบการณ์มากกว่า 60 ปีค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *