จัดหิ้งพระต้อนรับเข้าพรรษา ประจำปีเสือ 2565 ข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

อีก 1 วันสำคัญประจำปีของชาวพุทธอย่างเราคงหนีไม่พ้นวันเข้าพรรษาจริงไหมคะ และหนึ่งในธรรมเนียมของชาวพุทธอย่างเราก็คงไม่พ้นการนิมนต์พระประธานประจำบ้านลงมาสรงน้ำ ทำความสะอาดหิ้งพระ และอาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประดับไว้บนหิ้งพระ เพื่อคุ้มครองสมาชิกในบ้าน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มักจะจบด้วยการจัดหิ้งพระใหม่เพื่อต้อนรับสิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเข้าพรรษาและครึ่งปีสุดท้าย 

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี่เอง วันนี้ทางเราคลังวัสดุไม้จึงนำวิธีการจัดหิ้งพระเพื่อต้อนรับสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิตมาฝากทุกท่าน แน่นอนว่าเราไม่ได้นำมาแค่ข้อควรปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังมีข้อห้ามหรือสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติบางข้อที่ท่านจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการจัดหิ้งพระ ซึ่งทางเราก็เตรียมมาให้หมดแล้วค่ะ

ความสำคัญของการจัดหิ้งพระและห้องพระในบ้าน

  1. ตำแหน่งห้องพระในบ้าน

สิ่งแรกที่ท่านต้องรู้นั่นคือการพิจารณาตำแหน่งของห้องพระ เพราะนอกจากการจัดหิ้งพระแล้วห้องพระเองก็เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของการจัดหิ้งพระ โดยห้องพระควรจัดวางเอาไว้ในห้องด้านซ้ายมือของตัวบ้านหรืออยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทิศทางที่ดีคือประตูห้องพระหันไปทางเดียวกับประตูบ้าน 

  1. การจัดหิ้งพระ

การจัดหิ้งพระถือเป็นการจัดวางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในบ้านเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับคนในบ้าน โดยสิ่งที่ท่านควรจะต้องพิจารณาหลัก ๆ มีด้วยกันทั้งหมด 7 อย่าง และนอกจากนี้ก็มีข้อห้ามอีกทั้งหมด 6 อย่างที่ท่านต้องระวังโดยทั้งหมดที่กล่าวมาจะมีอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ 

หลักการจัดหิ้งพระในบ้าน

  1. ตำแหน่งหิ้งพระควรหันไปทางทิศเหนือ

ทิศเหนือจัดเป็นทิศทางแห่งความเจริญก้าวหน้า เปรียบเสมือนการหันหน้าเข้าสู่ความสำเร็จ การที่พระประธานของบ้านหันหน้าไปทางทิศเหนือก็เหมือนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยนำทางชีวิตของเราไปสู่เป้าหมาย 

  1. หิ้งพระต้องอยู่สูงและสะอาดอยู่เสมอ

หิ้งพระเปรียบเสมือนจุดรวมพลังงานดี ๆ ของตัวบ้าน เป็นพลังงานสะอาดและพลังงานศักดิ์สิทธิ์ที่คอยเป็นจุดเสริมสิริมงคลให้กับคนในบ้าน ดังนั้นหิ้งพระจำเป็นจะต้องอยู่สูง และต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อให้สิ่งดี ๆ ไหลเวียนได้อย่างเหมาะสม

3 สถานที่จัดวางหิ้งพระต้องโล่ง โปร่ง กว้าง และเหมาะสม

โดยทั่วไปแล้วการจัดวางหิ้งพระควรจะต้องมีห้องเฉพาะของตัวเอง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าห้องพระนั่นแหละค่ะ ลักษณะที่ดีของห้องพระคือ มีลักษณะโล่ง โปร่ง ลมสามารถเข้าออกได้สะดวก แต่ถ้าไม่มีห้องพระก็ควรจะจัดวางหิ้งพระไว้ในบริเวณที่โล่งโปร่งเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้จิตใจของคนที่กำลังสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่โล่ง โปร่ง เช่นกัน

  1. หิ้งพระไม่ควรหันไปทางทิศตรงข้ามกับหน้าบ้าน

ไม่ไหว้หิ้งพระของท่านจะหันไปทางไหนก็แล้วแต่ มีอยู่ 1 ทิศที่ห้ามหันไปเด็ดขาดนั่นคือ ตรงข้ามกับประตูหน้าบ้าน เพราะการจัดวางหิ้งพระตามทิศทางแบบนี้จะเป็นการขัดความเจริญของคนในบ้าน ทำให้คนในบ้านป่วยบ่อยและไม่เป็นสิริมงคล 

  1. หิ้งพระควรอยู่จุดศูนย์กลางของบ้าน

ไม่ว่าจะเป็นหิ้งพระหรือห้องพระตำแหน่งที่เหมาะสมนั้นคือ การจัดวางเอาไว้ที่ศูนย์กลางของตัวบ้าน เป็นเหมือนการให้บ้านและคนในครอบครัวมีศูนย์รวมจิตใจจุดเดียวกัน นั่นคือพระประธานประจำบ้านนั่นเองค่ะ

  1. การจัดหิ้งพระติดผนัง

นอกจากตำแหน่งหลักของการจัดหิ้งพระแล้ว สำหรับหลาย ๆ บ้านก็มีการจัดหิ้งพระเอาไว้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อง่ายต่อการเคารพบูชา นั่นคือการจัดหิ้งพระเอาไว้ติดผนัง โดยการจัดหิ้งพระแบบนี้มีข้อควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ 

– หิ้งพระควรอยู่เหนือศีรษะ

– ไม่ติดหิ้งพระกลับผนังเดียวของห้องน้ำ

– ไม่ติดหิ้งพระเหนือประตูทางเข้าบ้าน

– ไม่ติดหิ้งพระเอาไว้ในห้องนอน

– ควรหันหน้าหิ้งพระไปทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

– การติดตั้งหิ้งพระไม่ควรเอียงและไม่ควรปล่อยให้ชำรุด 

  1. จำนวนพระบนหิ้งพระควรมีกี่องค์

ตั้งแต่สมัยโบราณแล้วจำนวนพระบนหิ้งพระไม่ว่าจะเป็นความเชื่อไทยหรือความเชื่อของชาติอื่นๆ ต่างเชื่อว่าควรมีพระบนหิ้งพระเป็นจำนวนเลขคี่ เช่น 1, 3, 5, 7, 9 เป็นต้น แล้วตัวเลขที่ไม่แนะนำคือจำนวนเลขคู่โดยเฉพาะเลข 6

ลำดับขั้น ในการจัดวางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้าน

เชื่อว่าในหิ้งพระของทุก ๆ บ้านคงไม่ได้มีแต่พระประธานตั้งอยู่โดดเดี่ยวจริงไหมคะ หลาย ๆ บ้านจะมีทั้งพระสงฆ์ที่เป็นที่เคารพรัก พระอรหันต์ รวมถึงเทพยดาต่าง ๆ ที่แต่ละครอบครัวเคารพนับถือ แล้วต้องจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ อย่างไรล่ะจึงจะเหมาะสม

ทางเราได้รวมวิธีการจัดวางตามลำดับของบารมีเอาไว้ดังนี้ค่ะ

  1. พระพุทธรูปอยู่ในตำแหน่งสูงสุด
  2. พระอรหันต์สาวก
  3. พระอริยสงฆ์ที่ครอบครัวนับถือ
  4. รูปเหมือนสมมุติสงฆ์ที่เป็นครูบาอาจารย์ประจำบ้าน
  5. พระบรมสารีริกธาตุ โดยต้องสังเกตว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุของใคร แล้วจัดวางไว้ตามตำแหน่งของแต่ละท่าน เช่น สารีริกธาตุของอรหันตสาวกก็วางไว้ตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งที่ 2
  6. พระบรมรูปพระมหากษัตริย์
  7. เทพฮินดูต่าง ๆ
  8. อัฐิและรูปบูชาของบรรพบุรุษ

6 ข้อห้ามในการตั้งหิ้งพระในบ้าน

  1. ห้ามติดตั้งต่ำกว่าศีรษะ
  2. ห้ามติดหิ้งพระที่ผนังเดียวกับห้องน้ำ
  3. ห้ามติดหิ้งพระที่ประตูบ้าน โดยเฉพาะทางเข้าบ้าน
  4. ห้ามติดหิ้งพระไว้ในห้องนอน
  5. ห้ามหันหน้าหิ้งพระไปทางทิศตะวันตก
  6. หิ้งพระห้ามเอียงหรือชำรุดเด็ดขาด

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับวิธีการจัดวางหิ้งพระในบ้านทั้งแบบติดผนังหรือการจัดวางในห้องพระที่เรานำมาฝาก สำหรับวันเข้าพรรษานี้ทางเราคลังวัสดุไม้ ขออวยพรให้ทุกท่านพบแต่ความสุขความเจริญ คิดสิ่งใดสมหวังสมปรารถนา ธุรกิจ หน้าที่การงาน มีแต่ความก้าวหน้า มีแต่โชคดี ร่ำรวยเงินทอง ตลอดครึ่งปีที่เหลือนี้นะคะ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *